• ยน 14:15-16, 23ข-26 •
15 “ถ้าท่านทั้งหลายรักเรา ท่านจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา 16และเราจะวอนขอพระบิดา แล้วพระองค์จะประทานผู้ช่วยเหลืออีกองค์หนึ่งให้ท่าน เพื่อจะอยู่กับท่านตลอดไป”
23“ผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพร้อมกับเรามาหาเขา จะทรงพำนักอยู่กับเขา 24ผู้ที่ไม่รักเรา ก็ไม่ปฏิบัติตามวาจาของเรา วาจาที่ท่านได้ยินนี้ไม่ใช่วาจาของเรา แต่เป็นของพระบิดา ผู้ทรงส่งเรามา 25เราบอกสิ่งเหล่านี้ให้ท่านฟัง ขณะที่เรายังอยู่กับท่าน 26แต่พระผู้ช่วยเหลือคือพระจิตเจ้า ที่พระบิดาจะทรงส่งมาในนามของเรานั้นจะทรงสอนท่านทุกสิ่ง และจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอกท่าน”
สำหรับพระเยซูเจ้า สิ่งเดียวที่พิสูจน์ความรักแท้ คือ “ความนบนอบเชื่อฟัง” ด้วยเหตุนี้ เพราะรักพระบิดา พระองค์จึงทรงนบนอบเชื่อฟังและปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาจนกระทั่งยอมสิ้นพระชนม์ แม้เป็นการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน
เช่นเดียวกัน เราจะแสดงความรักต่อพระเยซูเจ้าได้ก็โดยการนบนอบเชื่อฟังและปฏิบัติตามบัญญัติของพระองค์ ดังที่ทรงตรัสว่า “ถ้าท่านทั้งหลายรักเรา ท่านจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา” (ยน 14:15)
ความรักจึงไม่ใช่เรื่องของความรู้สึกชอบหรือพอใจเท่านั้น แต่ต้องมีความนบนอบเชื่อฟังรวมอยู่ด้วย หาไม่แล้วเราจะพบเด็กที่ปากบอกว่ารักพ่อ รักแม่ แต่ไม่วายทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์เสียใจอยู่ทุกวี่ทุกวัน หรือสามีภรรยาที่ปากก็บอกว่ารักกัน แต่ไม่วายทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเจ็บปวดรวดร้าวด้วยการฉุนเฉียวใส่กันบ้าง โหดร้ายต่อกันบ้าง ไม่รู้จักเกรงอกเกรงใจกันบ้าง เป็นต้น
ในเมื่อความรักแท้เรียกร้องให้เรานบนอบเชื่อฟังผู้ที่เรารัก รักแท้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเหตุนี้พระเยซูเจ้าจึงทรงสัญญา “จะประทานผู้ช่วยเหลืออีกองค์หนึ่งให้เรา เพื่อจะอยู่กับเราตลอดไป” (ยน 14:16)
“ผู้ช่วยเหลือ” ตรงกับคำกรีก paraklētos (พาราเคลตอส) ซึ่งมีความหมายตามรากศัพท์เพียง “ผู้ที่ถูกเรียกมา” แต่โอกาสและเหตุผลที่ชาวกรีกใช้คำ “พาราเคลตอส” กลับมีขอบเขตกว้างขวางอย่างยิ่ง ดังเช่น
จะเห็นว่า “ผู้ช่วยเหลือ” ของชาวกรีกมีบทบาทกว้างขวางอย่างยิ่ง
สำหรับพระเยซูเจ้า “ผู้ช่วยเหลือ” นี้คือ “พระจิตเจ้า” ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ไว้ 2 ประการ (ยน 14:26) กล่าวคือ
ดังนั้น ผู้ที่พูดว่าตนเองเรียนรู้หลักธรรมคำสอนครบถ้วนแล้ว จึงฟันธงได้เลยว่า เขาผู้นั้นยังไม่รู้แม้แต่บทบาทและหน้าที่ของพระจิตเจ้าด้วยซ้ำไปว่าคืออะไร !
2.2 เกี่ยวกับความประพฤติ พระจิตเจ้าทรงช่วยเราให้ดำเนินชีวิตตามหนทางของพระเยซูเจ้า ทุกคนคงเคยได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์มาแล้วไม่มากก็น้อย เช่น เมื่อถูกล่อลวงและกำลังจะทำผิดอยู่รอมร่อ จู่ ๆ พระวาจาของพระเยซูเจ้าก็ดี ข้อความบางตอนจากพระคัมภีร์ก็ดี รูปภาพของแม่พระก็ดี คำพูดของคนที่เรานับถือก็ดี หรือคำสอนที่เคยเรียนสมัยเด็กก็ดี เกิดผุดขึ้นมาในความคิดของเราและช่วยเราให้รอดพ้นจากการล่อลวงนั้น
นี่แหละ ผลงานของพระจิตเจ้า !
และในฐานะที่ทรงเป็น “ผู้ช่วยเหลือ” (พาราเคลตอส) บทบาทของ “พระจิต” ซึ่งเราร่วมใจกันสมโภชในวันนี้ จึงกว้างขวางยิ่งนัก พระองค์เสด็จมาก็เพื่อประโยชน์ของเรา เพื่อกำจัดจุดอ่อนและข้อบกพร่องในตัวเรา เพื่อส่องสว่างสติปัญญาและจิตใจของเรา รวมถึงช่วยเหลือเราให้สามารถจัดการกับชีวิตและสังคมของเราอย่างผู้มีชัย
พระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่าพระจิตเจ้าโปรดประทานความช่วยเหลือแก่เราโดยผ่านทางพระพรหรือพระคุณ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน กล่าวคือ
1.1 พระดำริ (wisdom) ทำให้เราตีคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ตามความเชื่อของเรา หรือพูดง่าย ๆ คือตีคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ เหมือนอย่างพระเจ้า พระพรแห่งพระดำริทำให้เรามองสิ่งของของโลกนี้เป็นเพียงเครื่องมือช่วยเราในการรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ และถือว่าจิตใจของเราสำคัญกว่าร่างกาย และพระเจ้าสำคัญกว่าสิ่งสร้างทั้งปวง
1.2 สติปัญญา (understanding) ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เราเชื่อและปฏิบัติ เข้าใจพระวาจาของพระเจ้าและคำสอนของพระศาสนจักร อีกทั้งสามารถอธิบายถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
1.3 ความคิดอ่าน (counsel) ทำให้เราตัดสินใจทำสิ่งที่ดีที่สุดตามจิตตารมณ์แห่งความเชื่อ ช่วยให้เราคิดริเริ่มและสร้างสรรค์การปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น
1.4 พละกำลัง (fortitude) ทำให้เรามีพละกำลังปฏิบัติในสิ่งที่ได้รับจากความคิดอ่าน สามารถต่อสู้กับความชั่ว ยินดีเสียสละ และซื่อสัตย์มั่นคงในการทำหน้าที่ประจำวันต่าง ๆ โดยไม่ท้อถอย เป็นพระพรที่ทำให้มรณสักขียอมตายดีกว่าจะละทิ้งความเชื่อ
1.5 ความรู้ (knowledge) ทำให้เรามองสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตของเราเหมือนอย่างที่พระเจ้าทรงมอง ทำให้เรารู้พระประสงค์ของพระเจ้าและดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า
1.6 ความศรัทธา (piety) ทำให้เราปรารถนาที่จะนมัสการและรับใช้พระเจ้าด้วยความรักและความเต็มใจ ไม่ใช่ทำไปเพราะเป็นหน้าที่ เหมือนอย่างที่เราต้องการให้เกียรติพ่อแม่โดยการทำสิ่งที่ท่านปรารถนา ตัวอย่างกิจกรรมเช่น สวดภาวนา รับศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
1.7 ความยำเกรง (fear of the Lord) ทำให้เราปรารถนาที่จะไม่ทำให้พระเจ้าขัดเคืองพระทัย เรายำเกรงพระเจ้าไม่ใช่เพราะกลัวหรือเพราะเป็นหน้าที่ แต่เป็นเพราะเรารักพระองค์
– พระเจ้าทรงมีสติปัญญา (Intellect) สำหรับคิด และน้ำใจ (Free Will) สำหรับรัก
– สิ่งที่พระเจ้าทรงคิดถึงตั้งแต่นิรันดรคือ “ตัวพระองค์เอง” เพราะไม่มีสิ่งอื่นใดให้พระองค์คิดถึง
– เมื่อทรงคิด “ย่อมก่อให้เกิด” ตัวแทนของสิ่งที่ทรงคิด (ตัวอย่างเช่น เวลาเราคิดถึงมนุษย์ต่างดาว เรากำลังก่อให้เกิดตัวแทนหรือ “มโนภาพ” ของมนุษย์ต่างดาวขึ้นในความคิดของเรา)
– เนื่องจากพระเจ้าไม่มีขอบเขต ความคิดของพระองค์ย่อมไม่มีขอบเขต (คิดครั้งเดียวก็ครบครันและครอบคลุมทุกสิ่ง) และ “ตัวแทน” ของสิ่งที่ “เกิด” จากความคิดของพระองค์ก็ย่อมไม่มีขอบเขตไปด้วย พระคัมภีร์เรียก “ตัวแทน” ที่เกิดจากความคิดนี้ว่า “ภาพที่แลเห็นได้ของพระเจ้าที่แลเห็นไม่ได้”, “พระวจนาตถ์”, “พระปรีชาญาณ” ฯลฯ
– และเพราะความคิดของพระเจ้าก่อให้เกิดพระวจนาตถ์ ความ สัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับพระวจนาตถ์จึงเป็นแบบ “พ่อ-ลูก” หรือ “พระบิดา และ พระบุตร”
จากภาษาเชิงเปรียบเทียบเหล่านี้ จึงนำมาสู่การยืนยันว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่า พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นพระบุตรองค์เดียวของพระเป็นเจ้า ทรงบังเกิดจากพระบิดาก่อนกัปก่อนกัลป์….”
ดังได้กล่าวแล้วว่า พระเจ้านอกจากทรงมีสติปัญญาสำหรับคิดแล้ว พระองค์ยังทรงมีน้ำใจสำหรับรักอีกด้วย
– ตั้งแต่นิรันดร พระบิดาทรงรักพระบุตรอย่างไม่มีขอบเขต
– แต่ความรักของพระบิดาไม่ได้ก่อให้เกิดมโนภาพของพระบุตรผู้ทรงเป็นที่รัก เพียงแต่โน้มน้าวให้ทั้งพระบิดาและพระบุตรมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน
– ความรักซึ่งไม่มีขอบเขตของพระบิดาจึงไม่ได้เกิดจากพระบิดา แต่ “เนื่อง” มาจากพระบิดาและพระบุตรทรงรักกัน
– ความรักอันเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตรนี้ เป็นผลงานของ “น้ำใจ” หรือ “จิตใจ” ของพระเจ้า จึงได้รับพระนามว่า “พระจิต”
เราจึงยืนยันว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่า พระจิตทรงเป็นพระเป็นเจ้าผู้บันดาลชีวิต ทรงเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตร….”
ในเมื่อพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้บันดาลชีวิตและพร้อมจะเป็นพระผู้ช่วยเหลือเราในทุกสิ่งและทุกโอกาส การสมโภชวันนี้จะไม่มีความหมายใดเลยหากเราไม่กราบทูลพระองค์ว่า
“ เชิญเสด็จมาพระจิตเจ้าข้า เชิญมาสถิตในดวงใจของลูกด้วยเทอญ ” !
แบ่งปันหน้านี้ให้เพื่อนอ่านด้วยสิ คลิก!
กรุณาแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ
งดตอบคำถามที่นี่ หากต้องการสอบถามกรุณาเข้าไปที่ Facebook Messenger ไอคอนสีฟ้า (ด้านขวา/ล่าง)
วัดเซนต์จอห์น 1110/9 ลาดพร้าว ซอย 2 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
Copyright © 2019 Saint John Church. All Rights Reserved.